เรื่องราว ข้อความหรือคำพูดดีๆ เพื่อแบ่งปันให้คนที่คุณรักหรือรักคุณ
หน้าเว็บ
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ยิ้ม กล่าวขอบคุณ แล้วลงมือทำ
หลายวันก่อน ได้อ่านบทสัมภาษณ์ ฐิตินาถ ณ พัทลุง เธอบอกว่า "สุดท้ายเราก็พบว่า เสียอะไรเสียได้นะ แต่อย่าเสียศรัทธาในตัวเอง" คุณฐิตินาถ เป็นอีกคนหนึ่งในโลกนี้ที่ผ่านช่วงเวลาแห่งการเผชิญหน้ากับตัวตนของเธอเอง และรู้จักตัวเองในแต่ละช่วงวัยตามวิถีทางของเธอ
อ่านแล้ว ก็อยากบันทึกข้อเขียนดีๆ แบบนี้ไว้และแชร์ให้คนที่ไม่มีโอกาสอ่าน ได้อ่านกัน ก็เลยย่อย และย่อ บทสัมภาษณ์มาให้ผู้อ่านบล็อกนี้ ได้อ่านกันนะจ๊ะ ขออภัย ถ้ายาวไปหน่อย แต่อ่านให้จบนะ เห็นใจคนพิมพ์นะ นะ (^_^)
"อะไรก็ตามที่ใจเราไปยึดไว้ หรืออยากให้มี อยากให้เป็นอย่างใจ ความทุกข์มันก็เกิด ถ้าไม่อยากให้ความทุกข์เกิด ก็ต้องปล่อยใจที่ไปยึดสิ่งนั้นเสีย พอเราปล่อย ใจของเราก็จะยกระดับขึ้นมา แล้วเราก็จะจัดการกับปัญหาได้ ...
"มันเหมือนกับว่า ตัวของปัญหา มันขึ้นอยู่กับว่า ตอนนั้นใจของเรามันใหญ่แค่ไหน บางทีปัญหาไม่ได้ใหญ่ แต่อยู่ที่ว่าเราทำตัวเราให้เล็กหรือเปล่า ถ้าเมื่อไหร่เราทำตัวเล็ก แล้วไปเผชิญหน้ากับปัญหาตัวต่อตัว ปัญหามันจะดูใหญ่มาก หน้าที่ของเราคือ ถอยออกมา แล้วไปพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆ แล้วเราก็จะกลับไปจัดการทุกเรื่องได้ง่ายขึ้น ...
"เราอยากมีความเชื่อว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเพื่อส่งเราไปสู่จุดที่ดีที่สุดเสมอ พอเราเชื่อแบบนั้นปุ๊บ ระบบประสาทในตัวเราทั้งหมด ก็จะมองหาสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้น เช่น ควบคุมจิตใจของตนเองได้ พัฒนาจิตใจของตัวเอง ... หลักการสำหรับคนที่อยากฝึกฝน มีขั้นตอนง่ายมากคือ เกิดอะไรขึ้นปุ๊บ หนึ่ง ยิ้มก่อน ยิ้มด้วยความรู้ว่าเรารับผิดชอบกับสถานการณ์นี้ได้ อย่างน้อยที่สุดก็รับผิดชอบกับความรู้สึกของตัวเอง คนเรามักจะชอบบอกว่า ถ้าผ่านตรงจุดนี้ไปแล้วเราจะยิ้มกับมัน จะรอทำไม? ก็ยิ้มเลยสิ เพราะว่าตอนที่มีเรื่อง เราต้องการการยิ้มมากที่สุด เพื่อให้สารเคมีด้านดีของเราหลั่ง
"หนึ่งยิ้มเสร็จ สอง ขอบคุณ เพราะว่า วันๆ หนึ่ง เรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา มันจะทำให้ชีวิตเราเติบโตขึ้น ถ้าคุณลองถามตัวเองดู การพัฒนาบางอย่างในชีวิตเกิดขึ้นตอนที่ชีวิตมีวิกฤตทั้งนั้นเลย สิ่งที่เป็นปัญหาในชีวิตมันทำให้เราต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดด แล้วยกระดับชีวิตเราขึ้นไป
"พอยิ้ม และขอบคุณแล้ว สาม ลงมือทำบางอย่างด้านความรัก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าไม่รู้ว่าจะทำอะไร ลองไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น เราเชื่อว่าหัวใจสำคัญของชีวิตมนุษย์ ก็คือจะต้องเห็นการทำประโยชน์ในชีวิตที่ใหญ่กว่าตัวเอง เช่น เราเชื่อว่าเกิดมาเพื่อรับใช้แผ่นดินไทย ดังนั้น ไม่ว่าเราจะทำโครงการอะไรขึ้นมา เราจะส่งมอบต่อให้กับแผ่นดิน เพื่อนให้คนในแผ่นดินรู้ว่า ถ้าคุณไม่มีราก ถ้าคุณไม่ศรัทธาในแผ่นดินไทย หรือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คุณจะกลายเป็นเหมือนคนรับใช้ที่มาจากต่างด้าว ถ้าเมื่อไหร่คุณสิ้นชาติ คุณก็ไม่มีแผ่นดิน ลูกหลานคุณต้องไปเป็นคนรับใช้ที่อยู่ตามบ้าน คุณจะมีความสุขได้อย่างไร เราเชื่อเสมอว่า มนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยว เพราะว่าเราไม่ได้แข็งแรง เราต้องการศาสนาที่ทำให้เรามีศรัทธาเชื่อว่าเรามีชีวิตอยู่ ไม่ว่าศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม เรามีชีวิตอยู่เพื่อบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าตัวเราเอง ลองคิดว่า ถ้าคนคนหนึ่งคิดแค่ กิน อยู่ สนุก สืบพันธุ์ มันจะเกิดอะไรขึ้น --- ฐิตินาถ ณ พัทลุง
จบแล้วจ้า
คำคมวันนี้
You don't need someone to complete you., You only need someone to accept you completely.
เราไม่ได้ต้องการ ใครสักคน ที่มาเติมเต็มชีวิต แต่ เราเพียงแค่...ต้องการ...ใครสักคน?!? ที่ยอมรับเราได้ทุกอย่าง
วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สิ่งเล็กๆ ที่เรามองข้าม
บทความนี้เขียนขึ้นโดย จอร์จ คอลลิน ซึ่งเป็นดาราตลกที่โด่งดัง เขาเขียนขึ้นในวันที่ 11 กันยายน (ตึกเวิรด์เทรดถล่ม) หลังจากที่ทราบว่าภรรยาของเขาเสียชีวิตในตึกนั้นด้วย.. ทำ..ในสิ่งที่อยากจะทำ อยากให้ทุกคนได้อ่าน ข้อความนี้ มีความหมายดีนะ
ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง
เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง
เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง
เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น
เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า
แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น…………
เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง
เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง
เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง
ทุกวันนี้ ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น…จากนี้ไป…ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ
เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ …โอกาสที่พิเศษสุด…แล้ว
จงแสวงหา การหยั่งรู้
จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ใส่ใจกับความ..อยาก…
จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น….
กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป
ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด
เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย
น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้
เอาคำพูดที่ว่า….สักวันหนึ่ง…..ออกไปเสียจากพจนานุกรม
บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น
ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย
เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง
และเวลานี้….
ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลาที่จะแชร์ข้อความนี้ไปให้คนที่คุณรักอ่าน… แล้วคิดว่า….สักวันหนึ่งค่อยส่ง.. จงอย่าลืมคิดว่า สักวันหนึ่ง..วันนั้น คุณอาจไม่มีโอกาสมานั่งตรงนี้เพื่อทำอย่างที่คุณต้องการอีกก็ได้
วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
มือที่มองไม่เห็น หากสร้างเราให้แข็งแกร่งได้
หายไปนาน เนื่องจากติดภาระกิจสำคัญ เลยไม่สามารถหาเวลามาโพสเรื่องราวดีๆ ให้ผู้อ่านได้อ่านกัน วันนี้พอมีเวลาอยู่นิดหน่อย เลยขอเอาเรื่องราวที่ได้อ่านใน Facebook มาเล่าให้ฟังนะคะ อ่านแล้วซึ้งมาก และให้ข้อคิดอะไรได้ดีทีเดียว ต้องขอขอบคุณเพื่อนใน Facebook ที่หยิบเรื่องนี้มาชร์ให้อ่านกันนะคะ ลองอ่านดูค่ะ
"คนที่เรามองไม่เห็น"
มีผู้หญิงคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุ
ทำให้ต้องตาบอดทั้งสองข้าง
และเธอก็ทุกข์ทรมานกับการสูญเสียการมองเห็น
แต่สามีเธอก็พยายาม ปลอบใจ และให้กำลังใจเธอตลอด
พยายามสอนให้เธอใช้ประสาทสัมผัสให้มากขึ้น
ที่ทำงานของเธอกับสามีอยู่คนละทาง
แต่เขาก็ขับรถไปส่ง และไปรับอยู่เสมอ
จนวันหนึ่งสามีเธอรู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก
เขาจึงพูดกับเธอว่าให้เธอลองพยายามขึ้นรถเมล์ไปทำงานเอง
โดยที่เขาไม่ต้องไปรับไปส่งได้ใหม
นาทีนั้น …..
เธอรู้สึกเหมือนโดดเดี่ยว และน้อยใจสามีเธอ
แต่เธอก็พยายามทำตามที่เขาขอ
เธอพยายามขึ้นรถเมล์เอง พยายามไปทำงานด้วยตัวเอง
จนในที่สุดเธอก็สามารถทำได้
วันหนึ่งก่อนที่เธอจะลงรถไปทำงานตามปกติ
คนขับรถเมล์ก็เข้ามาจับแขนเธอและพูดกับเธอว่า
ผมช่างอิจฉาคุณผู้หญิงจริงๆครับ
เธอก็เลยถามว่า อิจฉาเธอเรื่องอะไร
คนขับรถเมล์ก็เลยบอกว่า .......
สามเดือนที่ผ่านมา
ผมจะเห็นสุภาพบุรุษคนหนึ่งเขาจะขึ้นรถเมล์ตอนเช้า
มานั่งตรงเบาะหลังคุณ เฝ้ามองดูคุณด้วยความห่วงใย
และตามคุณลงรถไป
และเฝ้าดูคุณเดินเข้าไปที่ทำงานอย่างห่วงใย
และตอนเย็นทุกๆเย็นเขาก็จะมาเฝ้ารอดูคุณขึ้นรถ
และคอยดูคุณจนคุณลงรถ
พอเธอได้ยินดังนั้น....
เธอก็นำตาไหลด้วยความตื้นตัน......และสำนึกผิด.........
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาไม่เคยทิ้งเธอไปไหน
เขายังอยู่ดูแลเธออย่างใกล้ชิด
เขาเหนื่อยยิ่งกว่าตอนที่เขาต้องคอยมารับมาส่งเธอซะอีก
เธอหวนนึกถึงคำพูด เขา ที่บ่นลอยๆ ออกมา บ่อยๆ ว่า
ชีวิตคนไม่แน่นอน อาจตายวันนี้ พรุ่งนี้ ได้ทุกเมื่อเลยนะ..
ดูอย่างคุณสิ...เมื่อวานยัง มองเห็น วันนี้ คุณมองไม่เห็นแล้ว....
เธอ คิดน้อยใจเขา มาตลอด 3 เดือน ที่คิดว่า เขา เบื่อ
รำคาญ การเป็น คนตาบอดของเธอ...
ณ วันนี้เธอรู้แล้วว่า ....เขากลัวว่า วันนี้ พรุ่งนี้เขาจะตายไป...
แล้ว เธอ จะไม่สามารถ ไปไหนมาไหน หรือ มีชีวิตอยู่ เองได้ ถ้าขาดเขา.....
โดย: อั๊ยยะ
เรื่องนี้อ่านแล้ว ก็ให้นึกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ถ้ามองระดับครอบครัว จะมีลูกคนไหน ที่กำลังนึกน้อยใจพ่อแม่อยู่ ว่าท่านไม่สนใจ เราจะทำอะไร ก็ต้องทำด้วยตนเอง จะขอเงินกินขนม ก็ไม่ใช่ให้ได้ง่ายๆ ต้องให้ทำโน่น ทำนี่ให้ก่อน ทั้งๆ พ่อแม่ก็มีเงินล้นเหลือ ทำไมขอเงินแค่นี้ ต้องงกกับเราด้วย แต่ถ้าคิดดีๆ พ่อแม่ทำอย่างนี้ ก็เพื่อฝึกเรา ให้รู้จักทำงาน ให้อดทนและทนอดเป็น เราจะไม่เสียเด็ก หรือเป็นเด็กที่ถูก spoil จนในอนาคต ก็กลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ โดยที่ไม่คิดทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และสุดท้าย เราก็อาจกลายเป็น "กากสังคม" หรือคนไม่มีค่าไปเลย นี่พ่อแม่กำลังช่วยเราไม่ใช่หรือ
ถ้ามองระดับประเทศ พ่อหลวงของเราสอนเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" หลายคนก็พูดกันติดปาก แต่ในทางปฏิบัติมีสักกี่คนที่ทำได้จริงๆ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช้เรื่องของคนจนเท่านั้น แต่เศรษกิจพอเพียง ก็คือความเพียงพอ พออยู่พอกินตามอัตภาพ ไม่โลภจนเกินไป และพึงพาตัวเองได้ คนรวยก็พอเพียงแบบคนรวย คนไม่รวย ก็พอเพียงแบบคนไม่รวย คนรวยจริงคือ คนที่รู้จักพอ และสามารถแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ จะมีคนเห็นไหมหนอ คำที่พ่อสอน และความหวังดีที่พ่อให้ หรือคนเราเห็นแก่ได้เฉพาะหน้า มองเห็นคนที่กำลัง spoil เรา ด้วยทุนนิยม ด้วยบัตรเครดิตคนจน ด้วย Tablet แจกฟรี แล้วสร้างนิสัยเสีย สร้างหนี้ให้กับเรา จนเราต้องอยู่แบบ "ขอ" พึงพาเขาร่ำไป ไม่เคยยืนได้ด้วยตัวเองจริงๆ แบบนี้หรือ ที่เราเลือกให้มันเป็นไป
Labels:
ข้อคิดสกิดใจ,
ตา,
เรื่องซึ้งๆ,
เรื่องรักๆ,
เรื่องราวของความรัก
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
สิ่งดีๆ ที่จะมอบให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เมื่อคนรักหรือคนใกล้ชิดป่วยหนักจนหมดสติและอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต คนส่วนใหญ่เลือกที่จะยื้อชีวิตหรือยืดลมหายใจของเขาให้นานที่สุด ด้วยการขอร้องให้หมอทำทุกอย่างกับร่างกายของผู้ป่วย แม้นั่นจะหมายถึงการก่อความทุกข์ทรมานแก่เขาอย่างมากก็ตาม เหตุผลนั้นมีหลายประการ เช่น ญาติยังทำใจไม่ได้กับการจากไปของคนรัก หรือเป็นเพราะยังมีความหวังว่าปาฏิหาริย์อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นยังมีเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ญาติมีความเข้าใจว่าการทำเช่นนั้นเป็นสิ่งดีที่สุดที่จะสามารถทำให้แก่ผู้ป่วยได้ ยิ่งผู้ป่วยเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ด้วยแล้ว ก็ถือว่านี้เป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ผู้มีความกตัญญูจะพึงกระทำในสถานการณ์ดังกล่าว
แต่จริงหรือที่การยื้อชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับเขา การมีลมหายใจยืนยาวอีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนด้วยความทุกข์ทรมาน ย่อมไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์เป็นแน่ หากความตายจะต้องมาถึงตัวอย่างแน่แท้แล้ว จะไม่ดีกว่าหรือถ้าเขาจะมีชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างไม่ทุกข์ทรมานและจากไปอย่างสงบ
บ่อยครั้งที่เราพบว่าสาเหตุที่ญาติขอร้องให้หมอยื้อชีวิตผู้ป่วยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่รู้ว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้น หลายคนเมื่อรู้ว่ามีวิธีที่ดีกว่าก็เปลี่ยนใจไม่ขอร้องให้หมอทำทุกอย่างกับร่างกายของผู้ป่วย คุณหมอสุมาลี นิมมานนิตย์ แพทย์อาวุโสและปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว)เล่าว่า เคยดูแลคนไข้ผู้หนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคไตวายฉับพลัน อีกทั้งระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่ทำงานแล้ว วันหนึ่งได้รับแจ้งจากพยาบาลว่า ลูกสาวทั้งสี่คนฝากบอกมาว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ขอให้ปั๊มหัวใจเต็มที่ ท่านจึงขอพบลูกสาวทั้งสี่คน และชี้แจงว่า ภาวะไตวายนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่เกิดกับคนไข้ แม้จะฟอกเลือดให้ คนไข้ก็ไม่ดีขึ้น และอาจเกิดอันตรายขึ้นด้วยซ้ำ
เมื่ออธิบายในทางการแพทย์จบ คุณหมอสุมาลีก็ให้คำแนะนำต่อไปว่า แม้จะไม่ฟอกเลือด ลูกก็ยังสามารถทำอะไรให้แม่ได้อีกมาก ที่สำคัญก็คือ การทำให้แม่มีใจสงบ เช่น คุยกับแม่ในเรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ท่านฟังแล้วสบายใจ หากท่านจะต้องจากไป ก็จะไปด้วยดี คุณหมอสุมาลียังย้ำว่า แม้แม่จะไม่รู้สึกตัว ก็สามารถได้ยินคำพูดของลูกได้ พอพูดมาถึงตรงนี้ ประกายตาของลูกสาวทั้งสี่ก็วาววับขึ้นมา เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่านี้เป็นสิ่งที่ลูกสามารถทำให้แม่ได้ ทั้งหมดขอตัวไปเยี่ยมแม่ทันที หลังจากพูดคุยกับแม่พักใหญ่ ก็กลับมาบอกพยาบาลว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ก็ไม่ต้องปั๊มหัวใจแล้ว เขาเข้าใจแล้ว
ทุกวันนี้ผู้คนให้ความสนใจแต่เรื่องของร่างกาย จนมองข้ามความสำคัญของจิตใจไป ดังนั้นเมื่อจะช่วยเหลือผู้ป่วย จึงคิดถึงแต่การดูแลเยียวยาทางกาย และถ้าหมดหนทางที่จะเยียวยากายได้ ก็จะมุ่งแทรกแซงร่างกายสถานเดียว หรือไม่ก็วางมือไม่ทำอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้และควรทำเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ การให้ความช่วยเหลือทางจิตใจ เช่น ช่วยน้อมใจให้สงบ มีที่พึ่งทางใจหรือพร้อมรับกับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น
การช่วยเหลือด้านจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าหมอ พยาบาล และที่สำคัญก็คือ ญาติมิตร โดยไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญจากไหน ในอดีตการนำจิตใจผู้ป่วยให้ไปอย่างสงบนั้น เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพระภิกษุ แต่ก็มิได้หมายความว่ามีแต่พระภิกษุเท่านั้นที่จะทำเช่นนี้ได้แท้จริงแล้วหมอ พยาบาล และญาติมิตรก็สามารถทำได้ และในบางกรณีก็ทำได้ดีกว่าพระด้วย เนื่องจากมีความคุ้นเคยใกล้ชิดและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้ดีกว่า
หลักการสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยพบกับความสงบในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น มีไม่กี่ข้อ และสามารถทำได้ไม่ยาก ได้แก่
๑) ให้ความรักความเมตตาแก่ผู้ป่วย คือมีใจอยากช่วยเหลือเขา พร้อมที่จะแบ่งเบาความทุกข์ของเขาด้วยความเต็มใจ ยินดีรับฟังความทุกข์ของเขา รวมถึงพร้อมที่จะเข้าใจเขา โดยไม่คิดแต่จะสอนเขาหรือแนะนำด้วยความเคยชินติดปากว่าให้ "อดทน" "ทำใจ"หรือปลอบใจว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย" (ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ผู้ป่วยได้ยินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่มีความหมาย)
๒) ชวนให้นึกถึงสิ่งดีงาม เช่น นึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ รวมทั้งบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญ สำหรับคนที่ไกลวัดไกลศาสนา ก็ชวนให้เขานึกถึงความดีที่ได้ทำ หรือสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของเขา ที่ช่วยให้รู้สึกว่าชีวิตของตนนั้นมีคุณค่า นอกจากนั้นยังอาจชวนเขาทำสังฆทาน หรือแจ้งให้เขาทราบว่าได้ไถ่โคกระบือในนามของเขาเพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
๓) ช่วยให้เขาปล่อยวางความกังวลหรือปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน คู่ครอง งานการ เช่น สามีให้คำมั่นแก่ภรรยาว่าจะดูแลลูก ๆ ให้ดี น้อง ๆ ให้คำมั่นแก่พี่ว่าจะช่วยดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือสร้างความมั่นใจแก่เขาว่าลูกหลานจะอยู่ได้ด้วยดีแม้ไม่มีเขา รวมทั้งมีการขอขมาขออโหสิต่อกันและกัน เพื่อจะได้ไม่มีสิ่งติดค้างใจกัน
๔) สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ เช่น สวดมนต์หรือนั่งสมาธิรอบเตียงเขา หรือเปิดเพลงเบา ๆ ที่เขาชอบ ไม่ควรมีการร้องไห้ฟูมฟายหรือทะเลาะเบาะแว้งกันในห้อง พึงตระหนักว่าแม้เขาจะอยู่ในภาวะโคม่า ก็ยังสามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้
ผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมีภูมิหลังเฉพาะตัว อีกทั้งนิสัยใจคอและการให้คุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ก็ต่างกัน (รวมทั้งความยึดติดถือมั่น) คนที่น่าจะรู้ดีที่สุดก็คือญาติมิตรที่คุ้นเคย ดังนั้นเมื่อพบว่าคนรักและคนใกล้ชิดเจ็บป่วยใกล้เสียชีวิต ญาติมิตรที่คุ้นเคยจึงเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยให้เขาจากไปอย่างสงบได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตายมาก่อน ก็สามารถเรียนรู้หรือหาประสบการณ์ได้ ทั้งจากหนังสือหรือจากผู้รู้
ที่มา: มติชนรายวัน วันที่ ๒๕ กูมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
แต่จริงหรือที่การยื้อชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับเขา การมีลมหายใจยืนยาวอีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนด้วยความทุกข์ทรมาน ย่อมไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์เป็นแน่ หากความตายจะต้องมาถึงตัวอย่างแน่แท้แล้ว จะไม่ดีกว่าหรือถ้าเขาจะมีชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างไม่ทุกข์ทรมานและจากไปอย่างสงบ
บ่อยครั้งที่เราพบว่าสาเหตุที่ญาติขอร้องให้หมอยื้อชีวิตผู้ป่วยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่รู้ว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้น หลายคนเมื่อรู้ว่ามีวิธีที่ดีกว่าก็เปลี่ยนใจไม่ขอร้องให้หมอทำทุกอย่างกับร่างกายของผู้ป่วย คุณหมอสุมาลี นิมมานนิตย์ แพทย์อาวุโสและปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว)เล่าว่า เคยดูแลคนไข้ผู้หนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคไตวายฉับพลัน อีกทั้งระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่ทำงานแล้ว วันหนึ่งได้รับแจ้งจากพยาบาลว่า ลูกสาวทั้งสี่คนฝากบอกมาว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ขอให้ปั๊มหัวใจเต็มที่ ท่านจึงขอพบลูกสาวทั้งสี่คน และชี้แจงว่า ภาวะไตวายนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่เกิดกับคนไข้ แม้จะฟอกเลือดให้ คนไข้ก็ไม่ดีขึ้น และอาจเกิดอันตรายขึ้นด้วยซ้ำ
เมื่ออธิบายในทางการแพทย์จบ คุณหมอสุมาลีก็ให้คำแนะนำต่อไปว่า แม้จะไม่ฟอกเลือด ลูกก็ยังสามารถทำอะไรให้แม่ได้อีกมาก ที่สำคัญก็คือ การทำให้แม่มีใจสงบ เช่น คุยกับแม่ในเรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ท่านฟังแล้วสบายใจ หากท่านจะต้องจากไป ก็จะไปด้วยดี คุณหมอสุมาลียังย้ำว่า แม้แม่จะไม่รู้สึกตัว ก็สามารถได้ยินคำพูดของลูกได้ พอพูดมาถึงตรงนี้ ประกายตาของลูกสาวทั้งสี่ก็วาววับขึ้นมา เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่านี้เป็นสิ่งที่ลูกสามารถทำให้แม่ได้ ทั้งหมดขอตัวไปเยี่ยมแม่ทันที หลังจากพูดคุยกับแม่พักใหญ่ ก็กลับมาบอกพยาบาลว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ก็ไม่ต้องปั๊มหัวใจแล้ว เขาเข้าใจแล้ว
ทุกวันนี้ผู้คนให้ความสนใจแต่เรื่องของร่างกาย จนมองข้ามความสำคัญของจิตใจไป ดังนั้นเมื่อจะช่วยเหลือผู้ป่วย จึงคิดถึงแต่การดูแลเยียวยาทางกาย และถ้าหมดหนทางที่จะเยียวยากายได้ ก็จะมุ่งแทรกแซงร่างกายสถานเดียว หรือไม่ก็วางมือไม่ทำอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้และควรทำเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ การให้ความช่วยเหลือทางจิตใจ เช่น ช่วยน้อมใจให้สงบ มีที่พึ่งทางใจหรือพร้อมรับกับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น
การช่วยเหลือด้านจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าหมอ พยาบาล และที่สำคัญก็คือ ญาติมิตร โดยไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญจากไหน ในอดีตการนำจิตใจผู้ป่วยให้ไปอย่างสงบนั้น เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพระภิกษุ แต่ก็มิได้หมายความว่ามีแต่พระภิกษุเท่านั้นที่จะทำเช่นนี้ได้แท้จริงแล้วหมอ พยาบาล และญาติมิตรก็สามารถทำได้ และในบางกรณีก็ทำได้ดีกว่าพระด้วย เนื่องจากมีความคุ้นเคยใกล้ชิดและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้ดีกว่า
หลักการสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยพบกับความสงบในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น มีไม่กี่ข้อ และสามารถทำได้ไม่ยาก ได้แก่
๑) ให้ความรักความเมตตาแก่ผู้ป่วย คือมีใจอยากช่วยเหลือเขา พร้อมที่จะแบ่งเบาความทุกข์ของเขาด้วยความเต็มใจ ยินดีรับฟังความทุกข์ของเขา รวมถึงพร้อมที่จะเข้าใจเขา โดยไม่คิดแต่จะสอนเขาหรือแนะนำด้วยความเคยชินติดปากว่าให้ "อดทน" "ทำใจ"หรือปลอบใจว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย" (ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ผู้ป่วยได้ยินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่มีความหมาย)
๒) ชวนให้นึกถึงสิ่งดีงาม เช่น นึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ รวมทั้งบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญ สำหรับคนที่ไกลวัดไกลศาสนา ก็ชวนให้เขานึกถึงความดีที่ได้ทำ หรือสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของเขา ที่ช่วยให้รู้สึกว่าชีวิตของตนนั้นมีคุณค่า นอกจากนั้นยังอาจชวนเขาทำสังฆทาน หรือแจ้งให้เขาทราบว่าได้ไถ่โคกระบือในนามของเขาเพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
๓) ช่วยให้เขาปล่อยวางความกังวลหรือปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน คู่ครอง งานการ เช่น สามีให้คำมั่นแก่ภรรยาว่าจะดูแลลูก ๆ ให้ดี น้อง ๆ ให้คำมั่นแก่พี่ว่าจะช่วยดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือสร้างความมั่นใจแก่เขาว่าลูกหลานจะอยู่ได้ด้วยดีแม้ไม่มีเขา รวมทั้งมีการขอขมาขออโหสิต่อกันและกัน เพื่อจะได้ไม่มีสิ่งติดค้างใจกัน
๔) สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ เช่น สวดมนต์หรือนั่งสมาธิรอบเตียงเขา หรือเปิดเพลงเบา ๆ ที่เขาชอบ ไม่ควรมีการร้องไห้ฟูมฟายหรือทะเลาะเบาะแว้งกันในห้อง พึงตระหนักว่าแม้เขาจะอยู่ในภาวะโคม่า ก็ยังสามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้
ผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมีภูมิหลังเฉพาะตัว อีกทั้งนิสัยใจคอและการให้คุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ก็ต่างกัน (รวมทั้งความยึดติดถือมั่น) คนที่น่าจะรู้ดีที่สุดก็คือญาติมิตรที่คุ้นเคย ดังนั้นเมื่อพบว่าคนรักและคนใกล้ชิดเจ็บป่วยใกล้เสียชีวิต ญาติมิตรที่คุ้นเคยจึงเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยให้เขาจากไปอย่างสงบได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตายมาก่อน ก็สามารถเรียนรู้หรือหาประสบการณ์ได้ ทั้งจากหนังสือหรือจากผู้รู้
ที่มา: มติชนรายวัน วันที่ ๒๕ กูมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
พระบรมสารีริกธาตุ ณ ตึกจามจุรีสแควร์
วานนี้ได้อัญเชิญพระบรมสาริริกธาตุ มาประดิษฐานที่บ้าน ตั้งใจทำบุญเพื่อสร้างโรงเรียนให้ชาวเขาทางภาคเหนือ เท่านั้นจริงๆ แต่เหลือเชื่อ หรือบังเอิญไม่ทราบ วันนี้ไปสัมมนาที่ SCG มา ปรากฏเป็นผู้โชคดี พิธีกรจับฉลากได้รางวัลพิเศษมา เรียกว่าในรอบ 40 ฤดูฝนที่ผ่านมาในชีวิต ไม่เคยมีโชคแบบนี้เลย นี่เรียกว่าได้บุญทันตาได้หรือเปล่านี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)